วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เลือกที่นั่งบนเครื่องอย่างไรให้ปลอดภัย





เลือกที่นั่งบนเครื่องอย่างไรให้ปลอดภัย
ในสถานการณ์ปัจจุบันกับข่าวคราวเหตุการณ์อุบัติเหตุทางเครื่องบิน ที่มีทั้งการสูญเสียและบางครั้งเราจะได้รับข่าว ของการรอดชีวิต ซึ่งหลายคนอาจมองว่า นั่นเองเป็นปฎิหารย์ ซึ่งหากเป็นกรณีเครื่องบินตกท่ามกลางพายุ หรือระเบิดบนอากาศแล้วก็ยากที่จะรอดชีวิต แต่หากเป็นเครื่องนำลงฉุกเฉิน ก็อาจจะมีทั้งผู้เสียชีวิตและผูรอดได้ คำถามที่ชวนสงสัยที่มักถามกับผู้รอดชีวิตเสมอๆ นั่นคือ"คุณรอดมาได้ยังไง แล้วคุณนั่งอยู่ตรส่วนไหนของเครื่องบิน"

แต่ก็มีอีกหลายเสียงที่แย่งว่า "นั่งตรงไหนมันก็ไม่ปลอดภัยทั้งนั้นแหละ" หรือไม่ก็ "แล้วแต่ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นตรงไหน"นี่ก็พิจารณาตามสถานการณ์

นิตยสารป๊อบปูลา มาแคนนิกส์ (The Popula Mechanics) เคยวิจัยโดยวิเคราะห์ทางสถิติไว้ว่า ที่นั่งบนเครื่องบิน นั่งด้านท้ายปลอดภัยกว่า ทั้งนี้จากการศึกษาสถิติจากอุบัติเหตุต่างๆ ของสารพัดสายการบินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า ยิ่งอยู่ห่างจากหัวเครื่องบินเท่าไหร่ก็ยิงปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น โดยสถิติจากผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุบนเครื่องบินส่วนใหญ่ 40% มีที่นั่งบริเวณหางเครื่องบิน

นิตยสารดังกล่าว ได้นำข้อมูลอุบัติเหตุของเครื่องบินในสหรัฐฯ จำนวน 20 ครั้ง จากสำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งสหรัฐฯ(NTSB) ตั้งแต่ปี 2514 จนถึง ส.ค. 2550 อย่างละเอียด ที่มีทั้งผู้รอดชีวิตและเสียชีวิตพร้อมทั้งข้อมูลแผนผังที่นั่งของผู้โดยสาร มาวิเคาระห์ว่า อุบัติเหตุแต่ละครั้ง ผูโดยสารในแต่ละที่นั่งมีสภาพเป็นอย่างไร โดยทีมงานได้เปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิต โดยแบ่งเครื่องบินออกเป็น4 ส่วน โดยได้ข้อสรุปว่า "ยิ่งใกล้หางยิ่งปลอดภัยกว่า"

อุบัติเหตุ 11 ใน 20 ครั้ง ผู้โดยสารที่นั่งแถวท้ายๆส่วนใหญ่ปลอดภัย หรือประสบอุบัตเหตุเบากว่า โดยใน 7 กรณีของกลุ่มนี้ผู้โดยสารที่ปลอดภัยนั่งอยู่ในแถวท้ายๆ อีกทั้งได้ยกตัวอย่างอุบัติเหตุในปี 2525 กับสายการบินฟอริดา (Air Florida) ที่เกิดขึ้นในวอชิงตันดีซี และปี 2515 กับอีสเทิร์น 727 (Eastern 727) ที่ท่าอากาศยานเคนนาดา ในนิวยอร์ก ซึ่งผู้โดยสารของทั้งของทั้ง 2 กรณีที่รอดชีวิตล้วนนั่งอยู่บริเวณหางของเครื่องบิน อีกทั้งมีกรณีดีซี-8 ของสายการบินยูไนเต็ด เกิดน้ำมันหมดกลางอากาศใกล้กับพอร์ตแลนด์ในปี 2519 มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ทั้งหมดล้วนนั่งอยู่ใน 4 แถวแรก

นอกจากนี้มีอุบัตเหุตเพียง 5 ครั้งเท่านั้นที่ผู้โดยสารบริเวณด้านหน้าประสบเหตุเบากว่าซึ่งเหตุการทั้ง 5 เกิดระหว่างปี 2531-2535 ส่วนใหญ่เพราะเหตุเกิดที่บริเวณปีก อย่างอุบัตเหตุในปี 2532 ที่ไอโอวา กับสายการบินยูไนเต็ด มีผู้โดยสารรอดชีวิต 175 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ห้องผู้โดยสารส่วนหน้าปีกและส่วนหัว และอีก 3 ครั้งที่ทั้งผู้นั่งส่วนหัวและท้ายเครื่องมีโอกาสรอดชีวิตพอๆกัน

ส่วนผู้ที่นั่งบริเวณหัวลำปลอดภัยนั้น มีเพียง 1 กรณีเท่านั้น ในปี 2532 เครื่องโบอิง 737-400 ของสายการบินยูเอสแอร์(USAir) เกิดอุบัติเหตุบนทางวิ่ง (รันเวย์) มีผู้โดยสารเสียชีวิตเพี่ยง 2 สายคือ ผูที่นั่งในแถวที่ 21 และ 25

ภาพจากป๊อบปูล่า มาแคนนิกส์ที่แบ่งเครื่องบินออกเป็น 4 ส่วน เมื่อวิเคราะห์ตามสถิติ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ สีเขียน -ห้องผู้โดยสารส่วนท้าย (Rear Cabin) คือส่วนที่มีโอกาสรอดถึง 69% สีเหลืองประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ห้องผู้โดยสารที่บริเวณปีกและหน้าปีก มีอัตราการรอดชีวิต56% และส่วนสีแดง-ห้องผู้โดยสารชั้นหนึ่ง และชั้นธุรกิจ (โFirst/Bussiness Class) มีโอกาสรอดชีวิต 49%(และยิ่งอยู่แถวหน้าโอกาสรอดต่ำลงไปอีก)

แม้จะเห็นว่าอัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุบนเครื่องบินไม่แตกต่างกัน มากนัก แต่ที่สำคัญไม่ว่าจะนั่งตรงไหนของเครื่องก็ตามเมื่อรัดเข็มขัดแน่นแล้ว ขอให้ตั้งใจฟังลูกเรือแนะนำกรณีฉุกเฉินต่างๆและประคองสติให้มั่นขณะเกิดเหตุ อย่าลืมว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ฉะนั้นต้องไม่ประมาท

ดังน้นการจัดการสาธิตเพื่อการเตรียมตัวของผู้โดยสารและความปลอดภัยบนเครื่องบิน เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้โดยสารไม่ควรละเลยเริ่มตั้งแต่

1. ผู้โดยสารต้องเก็บของไว้ในที่เก็บของเหนือศรีษะหรือใต้ที่นั่งด้านหน้า เพราะถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินจะกลายเป็นสิ่งกีดขวางเส้นทางหนีของผู้โดยสารเอง

2.การ รัดเข็มขัดที่ถูกต้อง-ต้องรัดให้กระชับที่ระดับสะโพก หากเกิดเหตุฉุกเฉินเข็มขัดจะรั้งช่วงสะโพก ซึ่งถือเป็นจุดค่อนข้างแข็งแรง และต้องรัดเข็มขัดไว้ตลอดเวลาขณะนั่งประจำที่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเราไม่รู้ว่าเครื่องบินจะตกหลุมอากาศตอนไหน

3.ควรปรับพนักเก้าอี้ให้ตั้งตรง พับเก็บโต๊ะหน้าที่นั่งและให้เปิดหน้าต่างทุกบาน เนื่องจากช่วงเครื่องบินกำลังบินขึ้นและบินลงนั้นกว่า 90 % ของอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสิ่งเหล่านั้นจะขวางทางขณะหนีออกจากตัวเครื่องบิน การเปิดกระจกตลอดการเดินทางผู้โดยสารจะได้มองเห็นสถารณ์ภายนอก ถ้าปิดหน้าต่างจะไม่รู้ว่าภายนอกเป็นอย่างไร

4.การใช้โทรโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณืการสือสารต่างๆ ไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด เพราะเคลื่นสัญญาณจากโทรศัพท์มือถือจะรบกวนการติดต่อสื่อสารระหว่างนักบิน และหอบังคับการบินเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้

5.เวลาขึ้นเครื่องไม่ควรจะใส่ส้นสูง เพราะจะก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่เคลื่อนย้ายผู้โดยสารฉุกเฉิน โดยเฉพาะตอนอพยพผู้โดยสารจะต้องถอดรองเท้าและสไลด์ลงไปตามสไลด์ราฟท์ เพราะถ้าใส่ส้นสูงหรือรองเท้า อาจจะทำให้ส้นรองเท้าไปเกาะเกี่ยวกับเบาะ อาจทำให้เบาะร่วงและไม่อาจใช้การได้

นอกเหนือจากข้อมูลของการเลือกที่นั่งแล้ว การฟังลูกเรือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย และสาธิตอุปกรณืความปลอดภัยบนเครื่องบินก็เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของผู้โย สารเอง

ที่มา jojo7000

ไม่มีความคิดเห็น: